หลังจากก่อตั้งท่าเรือมาเป็นระยะเวลาเก้าปี ปัจจุบัน สหไทย เทอร์มินอล เป็นท่าเรือที่มีการขยายบริการจนเรียกได้ว่าแทบจะครอบคลุมทุกความต้องการของลูกค้าได้ในที่เดียว ซึ่งเป็นผลมาจากการขยายขอบข่ายบริการที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ซึ่งแน่นอนว่าการบริหารงานที่ทรงประสิทธิภาพนี้ย่อมมาจากการวางเป้าหมายที่ชัดเจน บวกกับวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของผู้บริหารท่าเรือฯ อย่าง คุณทวีศักดิ์ และ คุณเสาวคุณ ครุจิตร ผู้ก่อตั้งบริษัทฯ ซึ่งมีจุดหมายในการพัฒนาท่าเรือแม่น้ำเอกชนที่ให้บริการอย่างครบวงจร และไม่เพียงตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้เป็นอย่างดีเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายที่จะทำให้ท่าเรือฯ เป็นส่วนสำคัญในการผลักดันและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยได้อย่างยั่งยืน
More Than a Container Terminal
หากลองมองย้อนกลับไปตั้งแต่การเริ่มก่อตั้งบริษัทฯ ถือได้ว่า สหไทย เทอร์มินอล จำกัด มหาชน มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว และมีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสามารถแบ่งธุรกิจหลักของบริษัทฯ ออกเป็นสี่ธุรกิจหลัก ได้แก่ ธุรกิจท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ โดยสหไทย เทอร์มินอล มีท่าเทียบเรือบาร์จทั้งหมดสองท่า และท่าเทียบเรือฟีดเดอร์อีกจำนวนหนึ่งท่า สามารถรองรับตู้สินค้าได้รวมประมาณ 500,000 ทีอียูต่อปี นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้ร่วมทุนกับสายการเดินเรือชั้นนำอย่าง MOL เปิดบริษัท Bangkok Barge Terminal (BBT) ในปี 2015 เพื่อให้บริการท่าเรือบาร์จอีกจำนวนหนึ่งท่า ตั้งอยู่ห่างจากท่าเรือแห่งแรกเพียง 2 กิโลเมตร ซึ่ง BBT ถือเป็นท่าเรือแม่น้ำแห่งแรกในไทยที่ได้รับใบอนุญาต ICD นอกจากนี้ ธุรกิจท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ของสหไทยยังให้บริการครอบคลุมการบรรจุและขนถ่ายสินค้าเข้าตู้สินค้า (Container Freight Station หรือ CFS) และบริการซ่อมแซมและทำความสะอาดตู้สินค้า (Container Depot) ด้วย ซึ่งในปี 2017 นี้เอง สหไทย ได้ขยายธุรกิจโดยก่อตั้ง บริษัท Bangkok Container Depot Service (BCDS) ขึ้น เพื่อให้บริการในส่วนนี้โดยเฉพาะ
ชมวิดีโอ ข้อได้เปรียบของ ICD ใหม่ Bangkok Barge Terminal
ขณะที่ธุรกิจที่สองคือ การให้บริการขนส่งสินค้าทางบก โดยครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล และบริเวณพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ส่วนธุรกิจที่สามคือ ธุรกิจบริการพื้นที่จัดเก็บตู้สินค้าและคลังสินค้า โดยมีทั้งคลังสินค้าทั่วไป คลังสินค้าปลอดอากร พื้นที่สำหรับสินค้าทั่วไป และพื้นที่จัดเก็บสินค้าปลอดอากร และธุรกิจสุดท้ายเป็นธุรกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ บริการตัวแทนผู้รับจัดการสินค้า และการให้เช่าพื้นที่สำนักงานต่างๆ และแม้บริการปัจจุบันที่สหไทย เทอร์มินอลให้บริการดูจะครอบคลุมเกือบทุกความต้องการของลูกค้าแล้ว แต่ท่าเรือเอกชนแม่น้ำแห่งนี้ ก็ยังไม่หยุดพัฒนาบริการแต่เพียงเท่านี้
คุณเสาวคุณ กล่าวว่า “ตอนที่ก่อตั้งบริษัทฯ ความตั้งใจแรกของผู้ก่อตั้งคือ การให้บริการที่มาก กว่าท่าเรือ เรามีเป้าหมายในการเป็นผู้ให้บริการอย่างครบวงจร โดยไม่เพียงให้บริการแก่สายการเดินเรือเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผู้นำเข้าและผู้ส่งออกด้วย เรามองว่าท่าเรือเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมระหว่างผู้นำเข้า-ผู้ส่งออกกับสายการเดินเรือ ดังนั้น หน้าที่สำคัญของเราคือการวิเคราะห์ว่าสายการเดินเรือต้องการอะไร และผู้นำเข้า-ส่งออกต้องการอะไร ตัวเราเองก็มีบทบาทของการเป็นผู้นำเข้า-ส่งออกเหมือนกัน ทำให้เรามีความเข้าใจว่าผู้ใช้บริการต้องการอะไร ต้องการเสริมหรือพัฒนาบริการในส่วนไหน จากนั้นจึงนำความต้องการของทั้งสองฝ่ายมาบริหารจัดการ เพื่อสร้างบริการที่ตอบโจทย์มากที่สุด เพราะฉะนั้น ท่าเรือของเราจะมีบริการที่แตกต่าง เนื่องจากมีการพัฒนาทุกรูปแบบ ตั้งแต่เรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง เรือขนส่งระหว่างประเทศ บริการ Container Freight Station บริการ Container Depot คลังสินค้า บริการตัวแทนผู้รับจัดการสินค้า และขนส่งทางบก โดยเราวางแผนพัฒนาบริการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ได้มากที่สุด”เมื่อไม่นานมานี้ สหไทย เทอร์มินอล ได้ก้าวสู่อีกหนึ่งขั้นความสำเร็จ หลังจากที่บริษัทฯ ได้ดำเนินการยื่นเอกสารเพื่อเสนอขายหุ้นทั่วไป (IPO) เพื่อระดมทุนในการขยายและต่อยอดธุรกิจไปเมื่อช่วงต้นปี 2017 ในเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา สหไทย เทอร์มินอล ก็ได้รับการอนุมัติให้สามารถขายหุ้นได้ โดยเป้าหมายของการระดมทุนครั้งนี้ บริษัทฯ หวังว่าจะนำเงินทุนที่ได้มาช่วยลดค่าใช้จ่าย และเป็นส่วนสำคัญในการขยายโครงการต่างๆ ที่บริษัทฯ ได้วางแผนเอาไว้ เพื่อพัฒนาบริการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
คุณบัญชัย กล่าวว่า “ตั้งแต่วันที่บริษัทฯ ได้แต่งตั้งที่ปรึกษาทางการเงินอย่างเป็นทางการในช่วงต้นปีจนถึงวันที่ได้รับการอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ใช้ระยะเวลาเพียงประมาณหกเดือน ซึ่งถือว่าค่อนข้างเร็ว ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะสหไทย เทอร์มินอล มีการวางแผนและกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบตั้งแต่เริ่มต้น เรามีการจัดตั้งให้มีคณะกรรมการตรวจสอบซึ่งมีกรรมการอิสระ (Independent Directors) ที่เราเชิญเข้ามาร่วมงานตั้งแต่วันแรกที่เริ่มปฏิบัติงาน เพราะฉะนั้น ขั้นตอนการดำเนินงาน การเสนอโครงการ และการอนุมัติต่างๆ จะต้องมีลำดับขั้น และทำงานตามหลักมาตรฐานสากล ซึ่งหลังจากระดมทุนแล้ว เราตั้งเป้าหมายไว้ว่า จะนำเงินมาใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน ชำระคืนเงินกู้ และเพื่อขยายธุรกิจ และการบริการต่างๆ ที่เราได้วางแผนไว้ ทั้งนี้เพื่อขยายงานบริการให้ครอบคลุมมากขึ้น รวมถึงการยกระดับบริการปัจจุบันที่เราให้บริการอยู่อีกด้วย”
อย่างไรก็ตาม สหไทย เทอร์มินอล ไม่ได้เพียงตั้งเป้าหมายเพื่อพัฒนาบริการของตัวเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการพัฒนาและส่งเสริมบริการโลจิสติกส์ร่วมกับพันธมิตรให้เติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกันด้วย “แนวความคิดสำคัญที่สหไทย เทอร์มินอล เชื่อมั่นมาตลอดก็คือ การเปลี่ยนคู่แข่งให้เป็นพันธมิตรทางการค้าเพื่อเติบโตไปพร้อมกันอย่างแข็งแกร่ง โดยแทนที่จะแข่งขันกัน เรามองว่าทุกฝ่ายควรหันมาร่วมมือกันและช่วยเหลือกันมากกว่า เพราะท้ายที่สุด ทั้งสองฝ่ายก็ประสบความสำเร็จทั้งในแง่การลดต้นทุนและก้าวหน้าไปพร้อมกันด้วย” คุณเสาวคุณ กล่าว
คุณบัญชัย กล่าวเสริมว่า “ปัจจุบัน เราได้เป็นพันธมิตรร่วมกับท่าเรืออื่น โดยสนับสนุนการปฏิบัติ การของกันและกัน ตัวอย่างเช่น ท่าเรือของเราเป็นท่าเรือที่มีสินค้าส่งออกมากกว่าสินค้านำเข้า เราก็ร่วมมือกับท่าเรือที่มีสัดส่วนการนำเข้ามากกว่าส่งออก เพื่อลดค่าใช้จ่ายสูญเปล่า ถือเป็น synergy ที่ 1+1 = 3 ตามแนวคิดแบบ modern thinking เพราะท้ายที่สุดแล้ว การร่วมมือกันจะช่วยสร้างความแข็งแกร่งและก้าวหน้าร่วมกัน อีกทั้งยังเป็น การช่วยกันพัฒนาอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืนอีกด้วย” คุณบัญชัย กล่าว
นอกเหนือจากการสร้างพันธมิตรในระดับชาติและนานาชาติแล้ว อีกหนึ่งความสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งและมีส่วนสำคัญให้องค์กรก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องก็คือ ความสามัคคีในองค์กร คุณเสาวคุณ กล่าวว่า “สิ่งหนึ่งที่เรามุ่งปลูกฝังพนักงานของเรามาโดยตลอดคือ การทำงานร่วมกันเหมือนเป็นครอบครัวเดียวกัน เราดูแลพนักงานทุกคนด้วยความใส่ใจ พนักงานทุกคนเป็นบุคลากรขององค์กรเราเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นบุคลากรที่ทำงานในสำนักงานหรือฝ่ายปฏิบัติการก็ตาม ที่สหไทย เราดูแลและใส่ใจบุคลากรทุกฝ่ายอย่างดีที่สุด มีการสร้างบรรยากาศการทำงานที่น่าอยู่ มีการอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งส่งเสริมหน้าที่การงานให้ก้าวหน้า”
นอกจากนี้ อีกปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้สหไทย เทอร์มินอล มีการพัฒนาอย่างไม่หยุดนิ่งก็คือ ความรัก ความเข้าใจ และความตั้งใจที่จะพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้า “เรามองว่าทุกวันนี้เราทำเพื่อองค์กร เราทำเพื่อพัฒนาร่วมกัน เรารักในอาชีพที่ทำ เรารักพนักงานของเรามาก พนักงานเองก็รู้จักเรา ไม่ใช่ในฐานะผู้บริหาร แต่ในฐานะของคนที่ทำงานจริง ซึ่งการร่วมมือกันและการรักในองค์กรนี้เองที่ทำให้งานทุกอย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ” คุณเสาวคุณ กล่าว
ด้วยการบริหารจัดการองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ที่มุ่งเน้นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน ทำให้ปฏิเสธไม่ได้ว่า สหไทย เทอร์มินอล ถือเป็นองค์กรที่พร้อมเติบโตอย่างยั่งยืนและเข้มแข็ง เพราะสหไทย เทอร์มินอล ไม่เพียงมุ่งหวังที่จะเป็นท่าเรือแม่น้ำเอกชนชั้นนำของประเทศเท่านั้น แต่ยังมีเป้าหมายที่จะเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจรชั้นนำ และเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ของไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
เกี่ยวกับสหไทย เทอร์มินอล
สหไทย เทอร์มินอล เป็นบริษัทเอกชนที่เริ่มเปิดดำเนินกิจการครั้งแรก เมื่อปี 2550 โดยบริษัทฯ มีพื้นที่ในการปฏิบัติการรวมมากกว่า 168,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย พื้นที่ซ่อมบำรุงตู้สินค้า สำนักงานศุลกากรภายในท่าเรือ และมีเครื่องมือประจำท่าเรือเพื่อใช้ในการยกขนสินค้าอย่างครบวงจร พร้อมบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ และด้วยทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของสหไทย เทอร์มินอล ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสะพานภูมิพลและถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทำให้ลูกค้าสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก รวมถึงบริการครบวงจรที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกรูปแบบ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดบริการของสหไทย ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ +66 (0) 2386 8000 หรือ e-mail: [email protected]
]]>คุณประพันธ์ เจริญประวัติ ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ mai ยินดีต้อนรับ สหไทย เทอร์มินอล ผู้ให้บริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ที่เป็นเอกชนรายใหญ่ เข้าจดทะเบียนและเริ่มซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ mai ในกลุ่มบริการ โดยใช้ชื่อย่อในการซื้อขายหลักทรัพย์ว่า ‘PORT’ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน 2017
ทั้งนี้ PORT ดำเนินธุรกิจให้บริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์สำหรับเรือขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศ (feeder) และเรือขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ชายฝั่ง (barge) มีท่าเทียบเรือตั้งอยู่ที่ปู่เจ้าสมิงพราย จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นทำเลที่สะดวกต่อการขนส่ง และให้บริการต่อเนื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือ ได้แก่ ขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางบก บริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้า บริการบรรจุสินค้าเข้าและถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ รวมถึงการซ่อมแซมและทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์ เป็นต้น โดย PORT มีทุนชำระแล้ว 230 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 340 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน 120 ล้านหุ้น โดยเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนทั้งจำนวนต่อประชาชนครั้งแรก (IPO) เมื่อวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2017 ในราคาหุ้นละ 4.50 บาท คิดเป็นมูลค่าระดมทุน 540 ล้านบาท มูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 2,070 ล้านบาท โดยมี บริษัท หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย
คุณเสาวคุณ ครุจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สหไทย เทอร์มินอล (PORT) เปิดเผยว่า บริษัทดำเนินธุรกิจมา กว่า 9 ปี เป็นผู้ให้บริการท่าเรือเอกชนครบวงจรรายใหญ่ของประเทศไทย โดยตั้งอยู่ที่ปู่เจ้าสมิงพราย จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นทำเลที่สำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศ มีความพร้อมด้านการให้บริการและมีความแข็งแกร่งด้านพันธมิตรจากการร่วมทุนกับ 2 สายการเดินเรือใหญ่ระดับโลก ได้แก่ Mitsui O.S.K. Lines (MOL) และ Mediterranean Shipping Company (MSC) การนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai จะช่วยสร้างฐานทุนที่แข็งแกร่ง ทั้งนี้ บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนขยายธุรกิจชำระคืนเงินกู้ยืม และใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกิจการ
PORT มีผู้ถือหุ้นใหญ่ 3 ลำดับแรกหลัง IPO ได้แก่ กลุ่มรัตนศิริวิไล ถือหุ้น 35.66% กลุ่มครุจิตร ถือหุ้น 18.75% และกลุ่มจงยั่งยืนวงศ์ ถือหุ้น 4.08% การกำหนดราคาเสนอขาย IPO มาจากการสำรวจความต้องการซื้อหลักทรัพย์ของ ผู้ลงทุนสถาบัน (book building) ซึ่งกำหนดราคาเสนอขายหุ้น IPO ที่ 4.50 บาทต่อหุ้น คิดเป็นอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิต่อหุ้น (P/E ratio) ที่ 32.14 เท่า โดยคำนวณกำไรสุทธิจากผลประกอบการ 4 ไตรมาสล่าสุด (1 กรกฎาคม 2016-30 มิถุนายน 2017) ซึ่งเท่ากับ 65.07 ล้านบาท หารด้วยจำนวนหุ้นทั้งหมดภายหลังการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ (fully diluted) คิดเป็นกำไรสุทธิต่อหุ้นเท่ากับ 0.14 บาท ทั้งนี้ บริษัทมีนโยบายจ่ายเงินปันผลในอัตราไม่น้อยกว่าร้อยละ 40ของกำไรสุทธิตามงบการเงินเฉพาะกิจการของบริษัทหลังหักภาษีและสำรองตามกฎหมายตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัท
เกี่ยวกับสหไทย เทอร์มินอล
สหไทย เทอร์มินอล เป็นบริษัทเอกชนที่เริ่มเปิดดำเนินกิจการครั้งแรก เมื่อปี 2550 โดยบริษัทฯ มีพื้นที่ในการปฏิบัติการรวมมากกว่า 168,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย พื้นที่ซ่อมบำรุงตู้สินค้า สำนักงานศุลกากรภายในท่าเรือ และมีเครื่องมือประจำท่าเรือเพื่อใช้ในการยกขนสินค้าอย่างครบวงจร พร้อมบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ และด้วยทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของสหไทย เทอร์มินอล ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสะพานภูมิพลและถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทำให้ลูกค้าสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก รวมถึงบริการครบวงจรที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกรูปแบบ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดบริการของสหไทย ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ +66 (0) 2386 8000 หรือ e-mail: [email protected]
]]>ด้วยทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของธุรกิจโลจิสติกส์ของไทย และความเชี่ยวชาญในธุรกิจท่าเทียบเรือ บวกกับการที่บริษัทฯ เป็นพันธมิตรทางธุรกิจที่แข็งแกร่งกับ 2 สายการเดินเรือชั้นนำระดับโลก ทำให้สหไทย เทอร์มินอลได้เตรียมที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ให้บริการโลจิสติกส์แบบครบวงจร ด้วยการขยายบริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับท่าเรือ เพื่อรองรับการเติบโตของการลงทุนในโครงการ EEC ของรัฐบาล
คุณเสาวคุณ ครุจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) หรือ PORT กล่าวว่า “บริษัทฯ จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวน 120 ล้านหุ้น ที่ราคาหุ้นละ 4.50 บาท แก่นักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย (ซึ่งรวมถึง 6 ล้านหุ้นที่เสนอขายกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของบริษัทฯ ในราคาเดียวกัน) บริษัทฯ มีทุนจดทะเบียน 230 ล้านบาท และพาร์ 0.50 บาท และมีจำนวนหุ้นทั้งหมด 460 ล้านหุ้นซึ่งรวมถึงหุ้นไอพีโอจำนวน 120 ล้านหุ้น ซึ่งจะช่วยให้บริษัทฯ จะระดมทุนได้ 540 ล้านบาทในการเสนอขายหุ้นครั้งนี้ และวางแผนจะนำเงินที่ระดมทุนได้ในสัดส่วน 46 เปอร์เซ็นต์ สำหรับการขยายธุรกิจ 29 เปอร์เซ็นต์ สำหรับชำระคืนเงินกู้คืนหนี้ และ 25 เปอร์เซ็นต์ เป็นเงินทุนหมุนเวียน เรามั่นใจว่าภายหลังการระดมทุน บริษัทฯ จะมีศักยภาพทางธุรกิจและการเงินมากยิ่งขึ้น และด้วยการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลงทุน การลงทุนในโครงการ EEC ของรัฐบาล การขยายตัวของการส่งออกและนำเข้า บริษัทฯ จะได้ประโยชน์โดยตรงจากปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันบริษัทฯ มีกลยุทธ์ที่จะขยายบริการที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ด้วยการนำและระบบซอฟท์แวร์เข้ามาใช้มากขึ้น”
ชมวิดีโอบทสัมภาษณ์คุณเสาวคุณ กับข้อได้เปรียบในการขนส่งสินค้าทางแม่น้ำ
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งเมื่อ 9 ปีก่อน บมจ. สหไทย เทอร์มินอล ได้เติบโตอย่างต่อเนื่องและได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ให้บริการท่าเรือแม่น้ำเอกชนชั้นนำของไทยที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุด เนื่องจากบริษัทฯให้บริการด้านท่าเรือและโลจิสติกส์ที่ครบวงจรสำหรับทั้งเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (feeder) และเรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง (barge) และด้วยที่ตั้งที่ปู่เจ้าสมิงพราย ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านโลจิสติกส์ที่สำคัญทางยุทธศาสตร์ บริการแบบครบวงจรของ ‘PORT’ ได้แก่
1. ธุรกิจการให้บริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ครบวงจร สำหรับเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (feeder) และเรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง (barge) รวมถึงให้บริการบรรจุสินค้าเข้าและถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ (CFS) และ ซ่อมแซมทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์ (container depot)
2. ธุรกิจการให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางบก ภายในบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และบริเวณเขตพื้นที่แหลมฉบัง
3. ธุรกิจการให้บริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้า โดยให้บริการพื้นที่ลานพักตู้คอนเทนเนอร์และคลังจัดเก็บสินค้ากับลูกค้า ทั้งที่เป็นเขตให้บริการปกติและปลอดภาษีอากร (Free Zone) ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯ ให้บริการแก่ กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลก กลุ่มธุรกิจ e-commerce และอีกหลากหลายอุตสาหกรรม
4. ธุรกิจการให้บริการเกี่ยวเนื่องอื่นๆ อาทิ การให้บริการ Freight Forwarding เป็นต้น
ปัจจุบัน บริษัทฯ ได้ให้บริการท่าเรือพาณิชย์ 2 แห่งคือ ท่าเรือสหไทย และ ท่าเรือบางกอก บาร์จ (BBT) ซึ่งเป็นบริษัทฯร่วมทุนกับสายการเดินเรือรายใหญ่ของญี่ปุ่น คือ Mitsui O.S.K. Lines (MOL) โดยในเดือนกรกฎาคมปี 2017 BBT ได้รับใบอนุญาต ICD (Inland Container Depot) ทางน้ำแห่งแรกของไทยจากกรมศุลกากรทำให้สามารถดำเนินการสินค้าขาเข้าได้ นอกจากนี้ในปี 2016 บริษัทฯ ได้ร่วมทุนกับ สายการเดินเรือ Mediterranean Shipping Company (MSC) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสายการเดินเรือรายใหญ่ของโลก ภายใต้ชื่อบริษัท บางกอก บาร์จ เซอร์วิส จำกัด (BBS) เพื่อให้บริการบริหารจัดการเรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง
คุณมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง จำกัด (มหาชน) ที่ปรึกษาทางการเงินและผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย หุ้นสามัญเพิ่มทุนของ PORT กล่าวว่า “หุ้นไอพีโอของ PORT ได้รับความสนใจอย่างล้นหลามจากนักลงทุนสถาบันและนักลงทุนรายย่อย เนื่องจากบริษัทฯ มีพื้นฐานทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง อยู่ในธุรกิจโลจิสติกส์ที่เติบโตต่อเนื่อง ขณะที่มีคู่แข่งน้อยรายในเขตกรุงเทพปริมณฑลและเป็นธุรกิจที่ผู้ประกอบการรายใหม่เข้าสู่ตลาดได้ยากเนื่องจากไม่มีที่ดินที่เหมาะสม นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีทีมผู้บริหาร และพนักงานที่มีความสามารถ และมีอุปกรณ์เทคโนโลยีขั้นสูง ยิ่งกว่านั้น บริษัทฯ มีพันธมิตรร่วมทุนที่เป็นสายการเดินเรือระดับโลกถึง 2 บริษัท”
หุ้นไอพีโอจำนวน 120 ล้านหุ้นของ บมจ. สหไทย เทอร์มินอล คิดเป็น 26.09% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัทฯ สามารถจองซื้อได้ที่ บริษัท หลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่าย และ ผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายได้แก่ บริษัท หลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด บริษัท หลักทรัพย์ เคที ซีมิโก้ จำกัด บมจ. หลักทรัพย์กรุงศรี และ บริษัท หลักทรัพย์ เคทีบี จำกัด ในวันที่ 13-16 พฤศจิกายน 2017 โดยหลังจากการเพิ่มทุน กลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ ได้แก่ กลุ่มรัตนศิริวิไล กลุ่มครุจิตร และผู้ถือหุ้นอื่น จะลดการถือหุ้นเหลือ 74 เปอร์เซ็นต์ และนักลงทุนทั่วไปจะถือหุ้นประมาณ 26 เปอร์เซ็นต์
ชมวิดีโอ ข้อได้เปรียบของ BBT ท่าเรือแม่น้ำแห่งแรกที่ได้รับใบรับรอง ICD
บริษัทฯ มีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในงวดปี 2016 บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,080 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากรายได้รวม 841 ล้านบาทในปี 2015 และรายได้รวม 830 ล้านบาทในปี 2014 โดยส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้น และรายได้จากการให้บริการคลังสินค้าเพิ่มขึ้น โดยบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 74 ล้านบาทในปี 2016 เพิ่มขึ้นจากกำไรสุทธิ 25 ล้านบาทในปี 2015 และจากกำไรสุทธิ 36 ล้านบาทในปี 2014 ส่วนในงวด 6 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทฯ มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นเป็น 644 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 11 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน บริษัทฯ มีรายได้ 480 ล้านบาทและกำไรสุทธิ 35 ล้านบาท โดยกำไรสุทธิลดลงเนื่องจาก บริษัท บางกอก บาร์จ เทอมินอล จำกัด (BBT) มีผลประกอบการขาดทุนจากการที่เพิ่งเริ่มดำเนินงานปลายปีก่อน และยังไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในช่วงที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน ภายหลังจากที่ BBT ได้รับใบอนุญาติ ICD แล้วนั้น ทำให้มีจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่ผ่านท่าเรือเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าผลการดำเนินงานของ BBT จะปรับตัวดีขึ้นต่อไป
เกี่ยวกับสหไทย เทอร์มินอล
สหไทย เทอร์มินอล เป็นบริษัทเอกชนที่เริ่มเปิดดำเนินกิจการครั้งแรก เมื่อปี 2550 โดยบริษัทฯ มีพื้นที่ในการปฏิบัติการรวมมากกว่า 168,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย พื้นที่ซ่อมบำรุงตู้สินค้า สำนักงานศุลกากรภายในท่าเรือ และมีเครื่องมือประจำท่าเรือเพื่อใช้ในการยกขนสินค้าอย่างครบวงจร พร้อมบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ และด้วยทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของสหไทย เทอร์มินอล ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสะพานภูมิพลและถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทำให้ลูกค้าสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก รวมถึงบริการครบวงจรที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกรูปแบบ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดบริการของสหไทย ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ +66 (0) 2386 8000 หรือ e-mail: [email protected]
]]>คุณเสาวคุณ ครุจิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “บริษัทฯ เป็นผู้ให้บริการท่าเรือเอกชนครบวงจรรายใหญ่ของประเทศไทย ให้บริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์สำหรับทั้งเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (feeder) และเรือขนส่งชายฝั่ง (barge) โดยท่าเรือของบริษัทฯ ตั้งอยู่ในทำเลที่สำคัญเชิงยุทธศาสตร์ของธุรกิจโลจิสติกส์ของประเทศ ในอำเภอปู่เจ้าสมิงพราย จังหวัดสมุทรปราการ ปัจจุบัน บริษัทฯ ให้บริการแบบครบวงจร ตั้งแต่ 1. ธุรกิจการให้บริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ครบวงจร สำหรับเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (feeder) และเรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง (barge) รวมถึงให้บริการบรรจุสินค้าเข้า และถ่ายสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ (CFS) และ ซ่อมแซมทำความสะอาดตู้คอนเทนเนอร์ (Container Depot) 2. ธุรกิจการให้บริการขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ทางบก ภายในบริเวณจังหวัดกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และบริเวณเขตพื้นที่แหลมฉบัง 3. ธุรกิจการให้บริการพื้นที่จัดเก็บตู้คอนเทนเนอร์และคลังสินค้า โดยให้บริการพื้นที่ลานพักตู้คอนเทนเนอร์และคลังจัดเก็บสินค้ากับลูกค้า ทั้งที่เป็นเขตให้บริการปกติและปลอดภาษีอากร (Free Zone) ซึ่งปัจจุบัน บริษัทฯ ให้บริการแก่ กลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ระดับโลก กลุ่มธุรกิจ e-commerce และอีกหลากหลายอุตสาหกรรม 4. ธุรกิจการให้บริการเกี่ยวเนื่องอื่นๆ อาทิ การให้บริการ Freight Forwarding เป็นต้น”
คุณเสาวคุณ กล่าวเสริมว่า “ทั้งนี้ในปี 2015 บริษัทฯ ได้ร่วมทุนกับสายการเดินเรือรายใหญ่ของญี่ปุ่น Mitsui O.S.K. Lines (MOL) เพื่อจัดตั้งบริษัทฯ ร่วมทุนชื่อ บริษัท บางกอก บาร์จ เทอร์มินอล จำกัด (BBT) โดยในเดือนกรกฎาคมปี 2017 ที่ผ่านมา BBT ได้รับใบอนุญาต ICD (Inland Container Depot) ทางน้ำแห่งแรกของไทยจากกรมศุลกากรทำให้สามารถดำเนินการสินค้าขาเข้าได้ นอกจากนี้ในปี 2016 บริษัทฯ ได้ร่วมทุนกับ สายการเดินเรือ Mediterranean Shipping Company (MSC) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในสายการเดินเรือรายใหญ่ของโลก ภายใต้ชื่อบริษัท บางกอก บาร์จ เซอร์วิส จำกัด (BBS) เพื่อให้บริการบริหารจัดการเรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง จึงมั่นใจว่าบริการ ท่าเรือของ PORT มีมาตรฐานระดับโลก ด้วยอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพียบพร้อม และมีบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสูง นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังได้มีการขยายการลงทุนเพื่อรองรับการเติบโตของการลงทุนโดยภาครัฐสำหรับโครงการ EEC และ Mega Projects ต่างๆ ซึ่งจะส่งผลให้ปริมาณการส่งออกและนำเข้าสินค้าของประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ”
คุณบัญชัย ครุจิตร รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า “บริษัทฯ มีผลประกอบการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในงวดปี 2016 บริษัทฯ มีรายได้รวม 1,080 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากรายได้รวม 841 ล้านบาทในปี 2015 และรายได้รวม 830 ล้านบาทในปี 2014 โดยส่วนใหญ่มาจากการเติบโตของปริมาณตู้คอนเทนเนอร์ที่เพิ่มขึ้น และรายได้จากการให้บริการคลังสินค้าเพิ่มขึ้น โดยบริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 74 ล้านบาทในปี 2016 เพิ่มขึ้นจากกำไรสุทธิ 25 ล้านบาทในปี 2015 และจากกำไรสุทธิ 36 ล้านบาทในปี 2014″
“ส่วนในงวด 6 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทฯ มีรายได้รวมเพิ่มขึ้นเป็น 644 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 11 ล้านบาท เทียบกับงวดเดียวกันปีก่อน บริษัทฯ มีรายได้ 480 ล้านบาทและกำไรสุทธิ 35 ล้านบาท โดยกำไรสุทธิลดลงเนื่องจาก บริษัท บางกอก บาร์จ เทอมินอล จำกัด (BBT) มีผลประกอบการขาดทุนจากการที่เพิ่งเริ่มดำเนินงานปลายปีก่อน และยังไม่สามารถดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในช่วงที่ผ่านมา โดยปัจจุบัน ภายหลังจากที่ BBT ได้รับใบอนุญาติ ICD แล้วนั้น ทำให้มีจำนวนตู้คอนเทนเนอร์ที่ผ่านท่าเรือเพิ่มขึ้น โดยคาดว่าผลการดำเนินงานของ BBT จะปรับตัวดีขึ้นต่อไป บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) มีทุนจดทะเบียน 230 ล้านบาท โดยเป็นทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว 170 ล้านบาท (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท)”
คุณมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เมย์แบงก์ กิมเอ็ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงินของบริษัทฯ เชื่อมั่นว่า การเสนอขายหุ้นสามัญให้กับประชาชนทั่วไปของ ‘PORT’ จะได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างดี เนื่องจากธุรกิจท่าเทียบเรือขนส่งสินค้า เป็นอุตสาหกรรมที่มีการเติบโตสูงตามการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและการส่งออก ในขณะที่มีคู่แข่งน้อยราย เนื่องจากมีอุปสรรคในการเข้ามาในอุตสาหกรรมค่อนข้างสูง จากการที่พื้นที่ที่สามารถนำมาพัฒนาเป็นท่าเรือมีค่อนข้างจำกัด ประกอบกับ บริษัทฯ มีทีมผู้บริหารที่เชี่ยวชาญในธุรกิจ มีการลงทุนในเทคโนโลยี อุปกรณ์ระดับสูง และ ยังมีพันธมิตรเป็นสายการเดินเรือระดับโลกถึง 2 ราย จึงมีโอกาสที่จะสร้างการเติบโตได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้ เราได้วางแผนที่จะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท สหไทย เทอร์มินอล จำกัด (มหาชน) จำนวน 120 ล้านหุ้น หรือคิดเป็น 26.09% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้วภายหลังการเสนอขายหุ้น ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยจำนวน 6 ล้านหุ้น จะถูกจัดสรรให้กับกรรมการ ผู้บริหารและพนักงานของ บริษัทฯ ที่ราคาเสนอขายหุ้น IPO โดยหลังจากการระดมทุนแล้ว PORT มีแผนจะนำเงินที่ได้เป็นเงินทุนในการขยายธุรกิจ ชำระคืนเงินกู้ยืม และเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียน ทั้งนี้ บริษัทฯ มีนโยบายจ่ายเงินปันผล ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 40% ของกำไรสุทธิภายหลังการสำรองกำไรสะสมตามที่กฎหมายกำหนดและเงื่อนไขอื่นๆ ตามนโยบายของบริษัทฯ”
เกี่ยวกับสหไทย เทอร์มินอล
สหไทย เทอร์มินอล เป็นบริษัทเอกชนที่เริ่มเปิดดำเนินกิจการครั้งแรก เมื่อปี 2550 โดยบริษัทฯ มีพื้นที่ในการปฏิบัติการรวมมากกว่า 168,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย พื้นที่ซ่อมบำรุงตู้สินค้า สำนักงานศุลกากรภายในท่าเรือ และมีเครื่องมือประจำท่าเรือเพื่อใช้ในการยกขนสินค้าอย่างครบวงจร พร้อมบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ และด้วยทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของสหไทย เทอร์มินอล ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสะพานภูมิพลและถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทำให้ลูกค้าสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก รวมถึงบริการครบวงจรที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกรูปแบบ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดบริการของสหไทย ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ +66 (0) 2386 8000 หรือ e-mail: [email protected]
]]>ซึ่งก่อนหน้านี้ สหไทย เทอร์มินอล ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) โดยมีจำนวน 120 ล้านหุ้น และจะขอเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (MAI)
เกี่ยวกับสหไทย เทอร์มินอล
สหไทย เทอร์มินอล เป็นบริษัทเอกชนที่เริ่มเปิดดำเนินกิจการครั้งแรก เมื่อปี 2550 โดยบริษัทฯ มีพื้นที่ในการปฏิบัติการรวมมากกว่า 168,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย พื้นที่ซ่อมบำรุงตู้สินค้า สำนักงานศุลกากรภายในท่าเรือ และมีเครื่องมือประจำท่าเรือเพื่อใช้ในการยกขนสินค้าอย่างครบวงจร พร้อมบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ และด้วยทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของสหไทย เทอร์มินอล ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสะพานภูมิพลและถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทำให้ลูกค้าสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก รวมถึงบริการครบวงจรที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกรูปแบบ
ติดต่อสอบถามรายละเอียดบริการของสหไทย ได้ที่เบอร์โทรศัพท์ +66 (0) 2386 8000 หรือ e-mail: [email protected]
]]>กลุ่มบริษัทสหไทย เทอร์มินอล มีธุรกิจทั้งหมดสี่ประเภทด้วยกัน ได้แก่
1. ธุรกิจให้บริการท่าเทียบเรือเชิงพาณิชย์ครบวงจร สำหรับเรือขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ จำนวนหนึ่งท่า ความยาวหน้าท่า 170 เมตร และท่าเรือสำหรับเรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง จำนวน 2 ท่า แต่ละท่ามีความยาวหน้าท่า 65 เมตร นอกจากนี้ ยังมีการขยายธุรกิจ โดยก่อตั้งบริษัทในเครือ ภายใต้ชื่อ บริษัท Bangkok Barge Terminal Co., Ltd (BBT) ซึ่งสหไทย เทอร์มินอล ถือหุ้น 51 เปอร์เซ็นต์ โดยบริษัท BBT ให้บริการท่าเทียบเรือสำหรับเรือขนส่งสินค้าชายฝั่ง โดยตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกับท่าเทียบเรือสองแห่งแรก
2. ธุรกิจการให้บริการขนส่งตู้สินค้าทางบก โดยให้บริการรถบรรทุกขนส่งตู้สินค้าทั้งในและระหว่าง กรุงเทพฯและ ปริมณฑล แหลมฉบัง และทั่วประเทศ
3. ธุรกิจการให้บริการพื้นที่ลานจัดเก็บตู้สินค้าและคลังจัดเก็บสินค้า โดยให้บริการจัดเก็บตู้สินค้า ซ่อมบำรุง และบริการคลังสินค้าแก่ลูกค้าของบริษัทฯ โดยมีทั้งคลังสินค้าทั่วไปและคลังสินค้าปลอดภาษีอากร (free zone) โดยปัจจุบัน ทางบริษัทฯ มีลูกค้ารายใหญ่เป็นบริษัทตัวแทนให้บริการขนส่งและโลจิสติกส์ (3PL) และบริษัทยานยนต์ชั้นนำ
4. ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลัก ซึ่งรวมทั้งการให้บริการเป็นตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ (freight forward) และรายได้จากการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น
นอกจากนี้ สหไทย เทอร์มินอล ยังมีแผนขยายธุรกิจการให้บริการพื้นที่ลานจัดเก็บตู้สินค้า (container depot) โดยให้บริการจัดเก็บตู้สินค้า ดูแลและซ่อมบำรุงตู้สินค้า เพื่อตอบรับการเติบโตของธุรกิจ โดยการขยายธุรกิจดังกล่าว มีมูลค่าลงทุนประมาณ 490 ล้านบาท โดยบริษัทย่อยแห่งใหม่ ได้รับการจดทะเบียนจัดตั้ง ณ วันที่ 30 มีนาคม 2560 โดยจดทะเบียนภายใต้ชื่อ บริษัท Bangkok Container Depot Service Co., Ltd (BCDS)
เกี่ยวกับสหไทย เทอร์มินอล
สหไทย เทอร์มินอล เป็นบริษัทเอกชนที่เริ่มเปิดดำเนินกิจการครั้งแรก เมื่อปี 2550 โดยบริษัทฯ มีพื้นที่ในการปฏิบัติการรวมมากกว่า 168,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย พื้นที่ซ่อมบำรุงตู้สินค้า สำนักงานศุลกากรภายในท่าเรือ และมีเครื่องมือประจำท่าเรือเพื่อใช้ในการยกขนสินค้าอย่างครบวงจร พร้อมบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญ และด้วยทำเลที่ตั้งที่เป็นจุดยุทธศาสตร์ของสหไทย เทอร์มินอล ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับสะพานภูมิพลและถนนกาญจนาภิเษก ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัด ทำให้ลูกค้าสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก รวมถึงบริการครบวงจรที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทุกรูปแบบ
]]>