สายการเดินเรือหรือตัวแทนสายการเดินเรือ ต้องส่งอีเมล์รายละเอียดของเรือบรรทุกสินค้า บริการ และลักษณะของเรือบรรทุกสินค้า (แผนการจัดเก็บทั่วไป แผนการผูกยึดเรือ แผนการจัดวางตู้สินค้าเย็น ระบบความปลอดภัย และตารางพื้นที่ระวางตู้คอนเทนเนอร์) ให้แก่ สหไทย เทอร์มินอล ล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ ก่อนเข้าเทียบท่า
สายการเดินเรือหรือตัวแทนสายการเดินเรือ ต้องส่งข้อมูลตารางการเข้าเทียบท่าระยะยาวล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน ให้กับสหไทย เทอร์มินอล เพื่อให้สหไทย เทอร์มินอลวางแผนจองตู้คอนเทนเนอร์ให้กับเรือขนส่งสินค้าล่วงหน้าอย่างน้อย 7, 3 และ 1 วัน ก่อนเข้าเทียบท่า สายการเดินเรือหรือตัวแทนสายการเดินเรือ ต้องส่งข้อมูลประมาณการของวันที่เรือจะเข้าเทียบท่า (ETA) และปริมาณสินค้าที่จะทำการโหลดขึ้นหรือลงโดยประมาณ เพื่อให้ สหไทย เทอร์มินอล ยืนยันแผนการเข้าเทียบท่า (POB) และประมาณการของวันที่ที่เรือจะออกจากท่าเรือต้นทาง (ETD)
ส่งอีเมล์ถึงสำนักงานปฏิบัติการของ สหไทย เทอร์มินอล ได้ที่ [email protected]
คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์ม download PDF form
o ตู้คอนเทนเนอร์ทั่วไปที่ขนส่งด้วยรถบรรทุก: 24 ชั่วโมงก่อนเวลาเข้าเทียบท่า (ATB)
o ตู้สินค้าเย็น (สินค้าประเภทผลไม้): 1 ชั่วโมงก่อน ATB
o ตู้สินค้าเย็น (สินค้าประเภทอื่นๆ): 12 ชั่วโมงก่อน ATB
o สินค้าอันตราย ประเภทที่ 2 (DG GROUP2): ขนส่งตรงจากเรือ/แชสซี ไปยัง แชสซี/เรือ
o สินค้าอันตราย ประเภทที่ 3 (DG GROUP3): สามารถจัดเก็บสินค้าไว้ที่ท่าเรือได้สูงสุด 48 ชั่วโมงหลังจากโหลดสินค้าลงจากเรือขนส่งสินค้า (หรือ) 48 ชั่วโมงก่อนเวลาปฏิบัติการของสถานีบรรจุหรือส่งมอบสินค้าที่ต้นทาง (CFS)
O วันทำการ: จันทร์-เสาร์
O เวลาทำการ: 08:00-17:00 น.
O **หากมีความประสงค์ในการทำงานล่วงเวลา จำเป็นต้องแจ้งก่อนเวลา 16.00 น. ในวันทำการ
O ** เวลาปิดรับสินค้าประเภท CFS: 6 ชั่วโมง ก่อนเวลาปิดรับสินค้าของ CY
สหไทย เทอร์มินอล รับจัดการสินค้า CFS/LCL ดังต่อไปนี้
o สินค้าที่ได้รับการบรรจุในบรรจุภัณฑ์หรือแพเล็ต และมีน้ำหนักไม่เกิน 2 ตัน ซึ่งสามารถยกขนด้วยรถฟอร์คลิฟต์ได้
o สำหรับสินค้าที่ได้รับการบรรจุในบรรจุภัณฑ์หรือแพเล็ต และมีน้ำหนักเกิน 2 ตัน สามารถติดต่อฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ของเรา เพื่อแจ้งความประสงค์
o ในกรณีที่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์จัดเก็บสินค้าพิเศษ จำเป็นต้องชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
สหไทย เทอร์มินอล ไม่รับจัดการสินค้า CFS/LCL ดังต่อไปนี้
o สินค้าที่อาจทำให้เกิดมลพิษบริเวณท่าเรือและคลังสินค้า อาทิ ผงแป้ง สารเคมีที่หลอมละลาย
o สินค้าที่ได้รับการสั่งห้ามจากองค์กรภาครัฐ อาทิ สินค้าอันตรายบางประเภท (DG)
o เครื่องมือที่มีน้ำหนักมาก สินค้าที่มีน้ำหนักไม่สมดุล และสินค้าประเภทอื่นๆ ที่ไม่สามารถยกขนด้วยรถฟอร์คลิฟต์ได้ และ/หรือต้องการเครื่องมือพิเศษในการยกขน
o สหไทย เทอร์มินอล ขอสงวนสิทธิ์ที่จะจัดหาเครื่องมือและบุคลากรเพิ่มเติม สำหรับขนส่งสินค้าในกรณีพิเศษ เจ้าของสินค้าต้องเป็นฝ่ายจัดหาเครื่องมือยกขนและบุคลากรเอง
กฎระเบียบสำหรับสินค้าที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากไม้ในประเทศปลายทาง
o หากต้องมีการระบุกฎระเบียบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์ที่ทำขึ้นจากไม้ ลูกค้าต้องแจ้ง สหไทย เทอร์มินอล เมื่อทำการจอง
o ในกรณีที่สินค้าได้รับความเสียหายระหว่างทำการบรรจุสินค้าในตู้คอนเทนเนอร์และระหว่างที่นำสินค้าออกจากตู้คอนเทนเนอร์ ภายใต้ความรับผิดชอบของ สหไทย เทอร์มินอล เช่น ระหว่างการยกขนด้วยรถฟอร์คลิฟต์ เพื่อขนถ่ายไปบนรถบรรทุก รวมทั้งความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นจาก สหไทย เทอร์มินอล ทาง สหไทย เทอร์มินอล จะเป็นผู้รับผิดชอบให้กับเจ้าของสินค้าหรือผู้รับสินค้า (consignee) ในมูลค่าไม่เกิน 50,000 บาทต่อสินค้าหนึ่งชิ้น และ/หรือ 500,000 บาทต่อตู้คอนเทนเนอร์หนึ่งตู้
o ในกรณีที่สินค้าได้รับความเสียหายและ/หรือสูญหาย ก่อนจะอยู่ในความรับผิดชอบของสหไทย เทอร์มินอล ทางสหไทย เทอร์มินอล ขอสงวนสิทธิ์ในการไม่รับผิดชอบไม่ว่าในกรณีใดๆ ทั้งสิ้น
o เมื่อสหไทย เทอร์มินอล ส่งมอบสินค้าในสภาพสมบูรณ์และครบถ้วนเรียบร้อยแล้ว สหไทย เทอร์มินอลจะไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นภายหลังการส่งมอบ
o บุคคลใดที่ลงนามในแบบฟอร์มการส่งมอบในนามของลูกค้าถือว่าเป็นผู้รับ และเป็นผู้รับผิดชอบในนามของลูกค้า ทางสหไทย เทอร์มินอล จะไม่มีส่วนรับผิดชอบในกรณีที่สินค้าเกิดการสูญเสียหรือเกิดความเสียหายต่อสินค้า ภายหลังการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้รับแล้ว
o คลิกที่นี่ เพื่อทำการยื่นคำร้อง [email protected]
o กัปตันเรือ/หัวหน้าเจ้าหน้าที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการตรวจสอบและตรวจสอบทรัพย์สินของสหไทย เทอร์มินอล ร่วมกัน เพื่อรับประกันว่า ไม่มีความเสียหายใดๆ เกิดขึ้นจากการชนเมื่อเรือขนส่งสินค้าเข้าเทียบท่า รวมทั้งตลอดเวลาที่เรือเทียบท่าที่ท่าเรือ
o มีการจัดเตรียมสะพานขึ้นลงเรือที่มีราวจับเหมาะสม รวมทั้งตาข่ายป้องกัน ทันทีที่เรือขนส่งสินค้าเข้าเทียบท่าที่ท่าเรือ
o กัปตันเรือ/หัวหน้าเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเคลื่อนย้ายหรือปรับเปลี่ยนตำแหน่งของปั้นจั่นเรือทุกครั้งที่จำเป็น เพื่อไม่ให้ขัดขวางการทำงานภายในท่าเรือ และเพื่อหลีกเลี่ยงการชนบริเวณหน้าท่า (Quay Crane) และปั้นจั่นเรือ (ship derricks) เรือขนส่งสินค้า โดยต้องได้รับการอนุมัติจากสหไทย เทอร์มินอล ก่อนทุกครั้ง เมื่อต้องทำการเคลื่อนย้ายหรือปรับเปลี่ยนตำแหน่ง
o กัปตันเรือ/หัวหน้าเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่รับผิดชอบในการจัดหาอุปกรณ์ยึด (Lashing equipment) ที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ หากมีการแจ้งความประสงค์จากสหไทย เทอร์มินอล กัปตัน/หัวหน้าเจ้าหน้าที่ จำเป็นต้องทำการตรวจสอบว่าอุปกรณ์ยึดมีความปลอดภัยและได้ประสิทธิภาพ หากอุปกรณ์ยึดไม่ได้มาตรฐาน ต้องทำการแจ้งเจ้าหน้าที่สหไทย เทอร์มินอล ทันที ซึ่งหากเกิดความล่าช้าหรือส่งผลกระทบต่อเวลาปฏิบัติการ เนื่องจากทำการตรวจสอบอุปกรณ์ยึด ตัวแทนสายการเดินเรือจำเป็นต้องชำระค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
o กัปตันเรือ/หัวหน้าเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่รับผิดชอบการบำรุงรักษาความปลอดภัยของเรือขนส่งสินค้า อาทิ การมัดเชือกผูกเรือให้แน่นตลอดการเทียบท่าเรือ
o หากลูกเรือและบุคลากรอื่นมีความประสงค์จะเข้าไปยังบริเวณพื้นที่ท่าเรือ จำเป็นต้องติดต่อฝ่ายรักษาความปลอดภัยของสหไทย เทอร์มินอล ก่อนทุกครั้ง
o ไม่อนุญาติให้ปล่อยควันออกจากปล่องเรือเกินกว่าที่กำหนด
o ไม่อนุญาตให้ปล่อยน้ำมันลงในแม่น้ำหรือในบริเวณที่พื้นที่ปฏิบัติงาน
o ไม่อนุญาตให้ขีดเขียนในบริเวณท่าเรือ
o ผู้มาติดต่อห้ามเข้าไปในพื้นที่ท่าเรือ หากไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ของสหไทย เทอร์มินอลที่มีอำนาจ
o ผู้มาติดต่อต้องติดต่อสำนักงาน Terminal Service (TMS) เพื่อรับเครื่องแต่งกายและเปลี่ยนเครื่องแต่งกายให้เหมาะสม ตามที่สหไทย เทอร์มินอล จัดเตรียมให้ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยและเพื่อให้มั่นใจว่าผู้มาติดต่อได้ทำการสวมเครื่องแต่งกายที่สามารถเห็นได้ชัดเจน
o ผู้มาติดต่อต้องปฏิบัติตามป้ายห้าม คำสั่ง และคำเตือนทั้งหมด รวมทั้งต้องสวมหมวกนิรภัยตลอดเวลา
o ผู้มาติดต่อที่เข้าไปในบริเวณท่าเรือผ่านทางลานจอดรถและ/หรือขึ้นเรือขนส่งสินค้าต้องใช้ทางเดินเท้าตลอดรั้วของท่าเรือ และห้ามเดินลัดผ่านลานวางตู้คอนเทนเนอร์
o ห้ามบันทึกภาพและวิดีโอภายในพื้นที่ท่าเรือโดยไม่ได้รับอนุญาตจากบุคลากรของสหไทย เทอร์มินอล ที่มีอำนาจ
o พาหนะทุกประเภทที่ขับขี่ในพื้นที่ตู้คอนเทนเนอร์ ต้องใช้ความเร็วไม่เกิน 20 กม./ชม.
o พนักงานขับรถทุกคนภายในพื้นที่ท่าเรือจะต้องปฏิบัติตามกฎการจราจรและข้อบังคับด้านความปลอดภัย และห้ามจอดพาหนะทิ้งไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต
o ห้ามจอดพาหนะทุกประเภทที่อาจขัดขวางการสัญจรภายในพื้นที่ปฏิบัติงาน
o บุคลากรทุกคนจำเป็นต้องแจ้งสหไทย เทอร์มินอล โดยทันที หากพบเจอการกระทำใดที่อาจส่งผลต่อความปลอดภัยภายในท่าเรือ หรือการกระทำใดที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานภายในท่าเรือและความปลอดภัยภายในท่าเรือตามที่ระบุไว้ในประมวลข้อบังคับว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของเรือและท่าเรือระหว่างประเทศ (International Ship and Port Facility Security)
o หากมีการละเมิดระเบียบที่กำหนดจะถูกยกเลิกใบอนุญาตเรือขนส่งสินค้า
o คลิกที่นี่ เพื่อส่งอีเมล์ให้แก่สำนักงาน SSHE ที่ [email protected]
o เพื่อเป็นการรับประกันความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายในท่าเรือ บุคลากรทุกคนโปรดปฏิบัติตามกฎระเบียบสำหรับสินค้าอันตรายด้านล่าง
o คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดไฟล์ PDF file.
o คลิกที่นี่ เพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์ม PDF form.
การขอใบอนุญาตสำหรับการติดต่อชั่วคราว
ผู้มาติดต่อที่ประสงค์จะติดต่ออาคารสำนักงานหรืออาคารปฏิบัติการ จำเป็นต้องแลกบัตรประชาชนและขอรับใบอนุญาตสำหรับผู้มาติดต่อที่ฝ่ายรักษาความปลอดภัยบริเวณประตูทางเข้าท่าเรือ
การขอใบอนุญาตสำหรับการติดต่อระยะยาว
ตัวแทนสายการเดินเรือที่ต้องการใบอนุญาตสำหรับการเข้ามายังสหไทย เทอร์มินอลในระยะยาว จำเป็นต้องกรอกแบบฟอร์มเพื่อแจ้งความประสงค์ และส่งเอกสารให้กับสำนักงาน Terminal Service คลิกที่นี่ เพื่อส่งอีเมล์ไปยังสำนักงาน SSHE ที่ [email protected]
สิทธิ์การเข้ามายังพื้นที่ท่าเรือและเรือขนส่งสินค้า
บุคลากร (ยกเว้นตัวแทนสายการเดินเรือ) ที่มีความประสงค์จะเข้าไปในพื้นที่ท่าเรือหรือมีความประสงค์จะขึ้นไปบนเรือ ต้องกรอกแบบฟอร์มแจ้งความประสงค์ และลงนามรับรองโดยตัวแทนสายการเดินเรือ เพื่อขออนุญาตสหไทย เทอร์มินอล ในการเข้าไปยังพื้นที่ปฏิบัติการ
การปฏิบัติการในพื้นที่ท่าเรือ
บุคลากรที่มีความประสงค์จะปฏิบัติงานในพื้นที่ท่าเรือ จำเป็นต้องกรอกเอกสารอนุญาตปฏิบัติงาน (Work Permit Form) ให้ครบถ้วน และแจ้งความประสงค์มายังสำนักงาน Terminal Service คลิกที่นี่ เพื่อส่งอีเมล์ไปยังสำนักงาน SSHE ที่ [email protected]
ลูกเรือที่ต้องการเข้าไปยังพื้นที่ท่าเรือ
ลูกเรือที่ประสงค์จะเข้าไปยังพื้นที่ปฏิบัติการท่าเรือ จำเป็นต้องติดต่อไปยังฝ่ายรักษาความปลอดภัยที่บริเวณท่าเรือ เพื่อลงทะเบียนและแลกบัตรลูกเรือ
สติ๊กเกอร์รถสำหรับตัวแทนสายการเดินเรือ
ตัวแทนสายการเดินเรือที่ต้องการสติ๊กเกอร์ติดรถเพื่อเข้าไปยังอาคารสำนักงาน จำเป็นต้องยื่นกรอกเอกสารแจ้งความประสงค์ในการขอสติ๊กเกอร์ติดรถยนต์ให้ครบถ้วน และยื่นเอกสาร พร้อมสำเนาใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ และสำเนาของใบทะเบียนรถยนต์ และยื่นให้เอกสารให้กับสำนักงาน Terminal Service คลิกที่นี่ เพื่อส่งอีเมล์ไปยังสำนักงาน SSHE ที่ [email protected]
ขั้นตอนการยื่นเอกสาร
การยื่นเอกสารสำหรับเรือขาเข้า
สายการเดินเรือหรือตัวแทนสายการเดินเรือ จำเป็นต้องส่งข้อมูลผ่าน EDI (Baplie)/CASP และรายชื่อสินค้าพิเศษ ให้กับทางสหไทย เทอร์มินอล ก่อนเวลาเข้าเทียบท่าโดยประมาณ (ETA) ล่วงหน้า 12 ชั่วโมง สายการเดินเรือต้องส่งบัญชีสินค้าทางเรือ รายการตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้า สินค้าอันตราย และสินค้าพิเศษ ให้กับสำนักงานดำเนินเอกสารของสหไทย เทอร์มินอล
การยื่นเอกสารสำหรับเรือขาออก
o สายการเดินเรือหรือตัวแทนสายการเดินเรือ จำเป็นต้องยื่น Booking Forecast, Pre-loading Plan และ Special Stowage Instructions ให้กับทางสหไทย เทอร์มินอล ก่อนเวลาเข้าเทียบท่าโดยประมาณ (ETA) ล่วงหน้า 12 ชั่วโมง
o สายการเดินเรือหรือตัวแทนสายการเดินเรือ จำเป็นต้องส่งรายชื่อ Final Loading List, Final Loading Summary และ Final Loading Plan (หากมี) ให้กับทางสหไทย เทอร์มินอล ก่อนเวลาเข้าเทียบท่าโดยประมาณ (ETA) ล่วงหน้า 12 ชั่วโมง
o เมื่อถึงเวลาปิดรับสินค้าที่ลานวางตู้คอนเทนเนอร์ สายการเดินเรือหรือตัวแทนสายการเดินเรือ จำเป็นต้องส่งเอกสารของตู้คอนเทนเนอร์ที่รอการขนถ่ายให้กับทางสหไทย เทอร์มินอลทันที เพื่อป้องกันความล่าช้า
o ในกรณีที่ท่าเทียบเรือมีการจองเต็มแล้ว สายการเดินเรือหรือตัวแทนสายการเดินเรือ จำเป็นต้องส่งเอกสารของตู้คอนเทนเนอร์ที่รอการขนถ่ายให้กับทางสหไทย เทอร์มินอล เพื่อป้องกันความล่าช้า
o คลิกที่นี่ เพื่อส่งอีเมล์ไปยังสำนักงานจัดเตรียมเอกสาร ที่ [email protected]. คลิกที่นี่ เพื่อส่งอีเมล์ไปยังสำนักงานปฏิบัติการ STT ที่ [email protected]
ลานวางตู้คอนเทนเนอร์สำหรับส่งออก
สายการเดินเรือหรือตัวแทนสายการเดินเรือ ต้องส่งมอบ “การแจ้งโอนเข้า” (Pre-advise) ให้แก่สำนักงานจัดเตรียมเอกสารของสหไทย เทอร์มินอล ผ่านทางอีเมล์ ทาง EDI หรือทางแฟกซ์ โดยมีข้อมูลของตู้คอนเทนเนอร์ดังต่อไปนี้
o ชื่อเรือขนส่งสินค้าและเลขที่การเดินทาง (voyage number)
o ชื่อลูกค้า
o ผู้ปฏิบัติการตู้คอนเทนเนอร์
o หมายเลข ขนาด และประเภทตู้คอนเทนเนอร์
o ท่าเรือปลายทาง
o เลขที่จองเรือขนส่งสินค้า
o การขนส่ง (รถบรรทุกหรือเรือบรรทุก)
o ประเภทสินค้า (สินค้าทั่วไป สินค้าอันตราย สินค้าเย็น เป็นต้น)
o เงื่อนไขเฉพาะต่างๆ (เช่น อุณหภูมิ หรือ ประมวลข้อบังคับว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตรายทางทะเล)
o ใบกำกับ หรือใบรับของ จะต้องได้รับการจัดเตรียมให้แก่สำนักงานศุลกากรที่ประตูเข้าในเวลาที่ตู้คอนเทนเนอร์ถูกนำเข้าโดยรถบรรทุก
o สำหรับตู้คอนเทนเนอร์ ที่ได้รับการขนส่งโดยเรือบรรทุก ผู้ควบคุมเรือบรรทุกจะทำการจองที่ยืนยันกับสำนักงานจัดเตรียมเอกสารของสหไทย เทอร์มินอล ก่อนเรือบรรทุกจะมาถึง ใบกำกับจะต้องถูกส่งให้แก่สำนักงานจัดเตรียมเอกสารของสหไทย เทอร์มินอล ก่อนการนำเข้าไปในคอนเทนเนอร์โดยเรือบรรทุก
คลิกที่นี่ เพื่อส่งอีเมล์ไปยังสำนักงานจัดเตรียมเอกสาร ที่ [email protected]
ลานเก็บตู้คอนเทนเนอร์ส่งออก (CFS)
o สายการเดินเรือหรือตัวแทนสายการเดินเรือ จะต้องส่งเอกสารการจอง CFS ให้แก่สำนักงานจัดเตรียมเอกสารโดยทางอีเมล์หรือแฟกซ์
o บริษัทจัดส่งสินค้าทางเรือจะต้องส่งใบแจ้งราคา/บัญชีรายการการบรรจุก่อนการนำเข้าไปยังสินค้า
o บริษัทจัดส่งสินค้าทางเรือจะต้องส่งใบกำกับก่อนการบรรจุ
o คลิกที่นี่ เพื่อส่งอีเมล์สำนักงานจัดเตรียมเอกสารที่ [email protected] หรือโดยทางโทรศัพท์ ติดต่อ +66 (0)84-540-7912 และ +66(0)92-224-4818 และ โทรสาร +66(0)2-386-8008
การขนส่งสินค้าทางเรือเพื่อนำเข้า
o ผู้รับของจะต้องส่งใบส่งมอบ (D/O) (Delivery Order) และ ใบศุลกากรให้แก่สำนักงานจัดเตรียมเอกสารของสหไทย เทอร์มินอล สำหรับคอนเทนเนอร์นำเข้าภายในประเทศ
o สำนักงานจัดเตรียมเอกสารของสหไทย เทอร์มินอล จะจัดเตรียมเอกสารส่งมอบสำหรับการเก็บตู้คอนเทนเนอร์นำเข้า
o สายการเดินเรือหรือตัวแทนสายการเดินเรือ จะต้องส่งบัญชีสินค้าที่บรรทุกมากับเรือและแจ้งสถานะของสินค้า (CY/DIR/LCL/CFS) ล่วงหน้า 24 ชั่วโมง ก่อนสินค้าจะขนส่งมาถึงสหไทย เทอร์มินอล
คลิกที่นี่ เพื่อส่งอีเมล์ไปยังสำนักงานจัดเตรียมเอกสาร ที่ [email protected]
เรากำลังพัฒนาและปรับเปลี่ยนขั้นตอนการเรียกเก็บค่าใช้บริการที่สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น หากคุณมีข้อสงสัยหรือต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเราได้ที่ +66 (0) 2386 8000.